พัฒนากระบวนการทางความคิดในส่วน “สมองส่วนหน้า” ( EF )

พัฒนากระบวนการทางความคิดในส่วน “สมองส่วนหน้า” ( EF )

Executive Function หรือ EF คือ กระบวนการทางความคิดในส่วน “สมองส่วนหน้า” ที่เกี่ยวข้องกับ ความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็น ความสามารถของสมองที่ใช้บริหาร จัดการชีวิตในเรื่องต่างๆ เพื่อกำกับ ตัวเราให้เกิดพฤติกรรมที่มุ่งสู่เป้าหมาย

นอกจากนี้ EF ยังช่วยให้เรา คิดอย่างมีเหตุผล รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักตั้งเป้าหมายในชีวิต รู้จักการ วางแผน มีความมุ่งมั่น มีการจดจำ สิ่งต่างๆ เพื่อนำ ไปใช้ประโยชน์ได้ ยืดหยุ่นความคิดเป็น หรือสามารถ จัดลำดับความสำคัญในชีวิต รวมทั้ง รู้จักริเริ่มและลงมือทำสิ่งต่างๆ อย่าง เป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็น สิ่งที่ทุกคนต้องใช้และมีผลต่อความ สำเร็จทั้งการงาน การเรียน และ การใช้ชีวิต

ทักษะ EF ที่สำคัญมี 9 ด้าน ดังนี้

1. ทักษะความจำ ที่นำ มาใช้งาน (Working Memory) คือ ทักษะความจำ หรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ

2. ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือ ความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเอง ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนความคิด ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้

4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจ อยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง

5. การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมการแสดงออก ทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

6. การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือ การสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง

7. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว และไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

8. การวางแผนและการจัดระบบดำ เนินการ (Planning and Organizing) คือ ทักษะการทำ งาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน

9. การมองเห็นภาพรวม การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำ สิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ

พัฒนากระบวนการทางความคิดในส่วน “สมองส่วนหน้า” ( EF )

วิธีพัฒนาทักษะ EF ในเด็ก

1. ทำให้เด็กรู้สึก ผูกพันไว้วางใจ กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู โดยการกอด การรับฟัง การดูแลอย่างใกล้ชิด

2. สภาพแวดล้อมที่สะอาด สงบ ปลอดภัย มีสิ่งที่ กระตุ้นการเรียนรู้ของ เด็ก เช่น หนังสือ ของเล่น เป็นต้น

3. มีโอกาสเรียนรู้ ด้วยการลงมือทำด้วยตนเอง

4. กินอิ่ม นอนหลับ ให้เพียงพอ

5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

6. ฝึกให้รู้จักการ อดทนรอคอย

7. ส่งเสริมให้เด็ก ทำงานจนเสร็จโดยมีผู้ปกครองคอยช่วยเหลือ แนะนำอยู่ใกล้ๆ

8. ฝึกความรับผิดชอบ ในบ้านเล็กๆ น้อยๆ เช่น การเล่นแล้วเก็บ การเก็บจานอาหารเอง เป็นต้น

9. สอนให้รู้จัก คิดก่อนตอบ คิดก่อนทำ ผู้ปกครองอาจใช้วิธีการให้เด็กบอกในสิ่งที่จะทำกับเราก่อน แล้วเราย้ำคำพูดของเขาให้เขาฟัง เพื่อให้ขาได้ยืนยันสิ่งที่จะทำ

10. สอนให้รู้จัก จัดการกับ อารมณ์ตัวเอง เมื่อเด็กรู้สึกโกรธหรือหงุดหงิด แล้วเขาเรียนรู้ว่าตอนนี้เขารู้สึกอย่างไร โดยพูดสะท้อนความรู้สึกของเขาเมื่อเขาสงบ เช่น “ที่หนูร้องไห้เสียงเพราะหนูโกรธใช่ไหมค่ะ” และให้คำแนะนำเด็กในการจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง โดยเปิดโอกาสให้เด็กคิดวิธีด้วยตนเองก่อน เช่น “ถ้าหนูรู้สึกโกรธหนูคิดว่าจะทำอย่างไรให้หายโกรธ” “ถ้าหนูโกรธมากให้เดินทางบอกแม่ กอดแม่นะคะ”

11. สอนให้เด็กพึ่งพา ตัวเองตามวัย เช่น การรับประทานอาหารด้วยตนเอง แต่งตัวเอง เป็นต้น

12. สอนให้เด็ก รู้จักคิดยืดหยุ่น เช่น เมื่อไปเที่ยวแล้วลืมของเล่นที่ตนเองชอบมาด้วย อาจจะมีการแสดงแสดงอาการงอแง ผู้ปกครองอาจจะพูดคุยให้เด็กคิดที่จะเล่นของเล่นชิ้นอื่นแทน โดยมีผู้ปกครองร่วมเล่นด้วย แล้วบอกให้เด็กรับรู้ว่าเราสามารถใช้สิ่งอื่นแทนกันได้

EF หรือ กระบวนการทางความคิด ไม่ได้เป็นทักษะที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ทักษะ EF นี้ จะพัฒนาได้มากที่สุดในช่วงปฐมวัย คุณพ่อคุณแม่ คุณครูหรือบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับเด็กๆ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลเด็กแบบเดิมๆ ออกไป จะไม่มีการตีกรอบ จะไม่มีการบังคับ แต่จะให้อิสระกับลูกในการคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ ลงมือทำด้วยตัวเอง ซึ่งจะส่งเสริมให้เด็กก้าวไปสู่ประตูแห่งการประสบความสำเร็จในชีวิต

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ twodollarpistol.com

UFA Slot

Releated